คุณภาพของการสรุปสาเหตุการตายต้นกำเนิดด้วยภาวะติดเชื้อในกระแสเลือด

 
 
 
       
     
    ศศิรา วรรณสถิตย์
    สาขาการจัดการเวชสารสนเทศ คณะสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล
     
    สุกัญญา จงถาวรสถิตย์
    ภาควิชาสังคมศาสตร์ คณะสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล
     
    ศศิรา วรรณสถิตย์  
    สาขาการจัดการเวชสารสนเทศ คณะสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล
   
     
    พรณรงค์ โชติวรรณ
 
    Language
 
      English  
      ภาษาไทย  
    คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
     
    ไชยสิทธิ์ วชิรดิลก  
    ศูนย์การแพทย์ปัญญานันทภิกขุ ชลประทาน มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ
 
    Information
 
      สำหรับผู้อ่าน  
      สำหรับผู้แต่ง  
      สำหรับบรรณารักษ  
     
     
     
     

บทคัดย่อ

วัตถุประสงค์: ศึกษาคุณภาพของการสรุปสาเหตุการตายต้นกำเนิดด้วยภาวะติดเชื้อในกระแสเลือด โดยศึกษาความถูกต้อง และความสอดคล้องของการสรุปสาเหตุการตายต้นกำเนิด (underlying cause of death) ด้วยภาวะติดเชื้อในกระแสเลือดในหนังสือรับรองการตาย (ทร.4/1) กับใบสรุปจำหน่ายผู้ป่วย (discharge summary) และความถูกต้องของการให้รหัส (coding) สาเหตุการตายใน ทร.4/1 และใน discharge summary


วิธีดำเนินการวิจัย: การวิจัยเชิงปริมาณ เก็บรวมรวมข้อมูลผู้ป่วยที่เข้ารับไว้รักษาในศูนย์การแพทย์ปัญญานันทภิกขุ ชลประทาน และเสียชีวิตด้วยภาวะติดเชื้อในกระแสเลือด จำนวนทั้งหมด 382 ราย จาก ทร.4/1จำนวน 382 รายและ discharge summary จำนวน 91 ราย วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติ ความถี่ ร้อยละ และสถิติ Kappa


ผลการวิจัย: การสรุปสาเหตุการตายในหนังสือรับรองการตาย (ทร.4/1) สรุปถูกต้องมากกว่าในใบสรุปจำหน่ายผู้ป่วย (discharge summary)โดยถูกต้องร้อยละ 76.4 และไม่ถูกต้องร้อยละ 23.56 แต่ใน discharge summaryถูกต้องร้อยละ 48.35 และไม่ถูกต้องร้อยละ 51.65 ส่วนใหญ่สรุปไม่ถูกต้อง คือ สรุปสาเหตุการตายไม่มีการติดเชื้อ (infection) ตามกฎการบันทึกสาเหตุการตายต้นกำเนิด แต่ถูกสรุปสาเหตุการตายเป็นติดเชื้อในกระแสเลือด           เมื่อวิเคราะห์ความสอดคล้อง พบว่า สรุปสอดคล้องกันร้อยละ 60.44 ค่าสถิติ Kappa เท่ากับ 0.49 (ความสอดคล้องระดับปานกลาง) และการให้รหัสสาเหตุการตายในทร.4/1 ถูกต้อง ร้อยละ 99.48 ใน discharge summary ถูกต้องร้อยละ 99.15


สรุป: การสรุปสาเหตุการตายในหนังสือรับรองการตาย (ทร.4/1) และในใบสรุปการจำหน่ายผู้ป่วย (discharge summary) พบว่า ส่วนใหญ่ยังสรุปไม่ถูกต้องตามเกณฑ์ของการบันทึกสาเหตุการตายต้นกำเนิด หน่วยงานควรจัดอบรมเพื่อเพิ่มพูนความรู้ในการสรุปสาเหตุการตายให้แก่บุคลากรผู้เกี่ยวข้อง เพื่อที่จะทำให้การสรุปการตายของโรงพยาบาลมีประสิทธิภาพมากขึ้น


 
 
 
 
    Home ThaiJo
 
   
   
   
     
 
เผยแพร่แล้ว: ธ.ค. 28, 2022
   
   
 
    Manual
 
      For Author  
      For Reviewer  
     
     
       
     
 
    เว็บไซต์
 
      โรงพยาบาลเจริญกรุงประชารักษ  
      www.ckphosp.go.th  
     
     
       
       
       
       
       
       
       
       
       
       
       
       
       
       
         
     
   ฉบับ  
    ปีที่ 18 ฉบับที่ 2 (2565): กรกฎาคม - ธันวาคม 2565  
 
         
         
     
   บทความ  
    บทความวิจัย  
 
         
         
     

References

Melamed A, Sorvillo FJ. The burden of sepsis-associated mortality in the United States from 1999 to 2005: an analysis of multiple-cause-of-death data. Crit Care 2009; 13(1): R28. doi: 10.1186/cc7733

สุดจิต เผ่าไทย. การจัดการความรู้ในการสร้างแนวปฏิบัติการพยาบาลผู้ป่วยติดเชื้อในกระแสโลหิต.[วิทยานิพนธ์ปริญญาพยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต]. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยคริสเตียน; 2556.

พรณรงค์ โชติวรรณ. คู่มือการบันทึกหนังสือรับรองการตาย (ปรับปรุงปี 2017). นนทบุรี: สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข; 2560.

สำนักนโยบายและยุทธศาสตร์ กระทรวงสาธารณสุข. คู่มือการรับรองสาเหตุการตาย. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์องค์การสงเคราะห์ทหารผ่านศึก; 2551.

สำนักนโยบายและยุทธศาสตร์ สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข. คู่มือการพัฒนาคุณภาพสาเหตุการตาย. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์องค์การสงเคราะห์ทหารผ่านศึก; 2556.

เยาวรักษ์ ปรปักษ์ขาม. โครงการพัฒนาคุณภาพ สาเหตุการตายในประเทศไทย พ.ศ. 2548-2551.กรุงเทพฯ: จรัลสนิทวงศ์การพิมพ์; 2552.

อรดี อินทร์คง. นักสืบความตาย. นนทบุรี: ที คิว พี จำกัด; 2553.

World Health Organization. International statistical classification of diseases and related health problems (10th revision) volume 2 instructions manual [Internet]. 2016[cited 2022 Apr 15]. Available from: https://icd.who.int/browse10/Content/statichtml/ICD10Volume2_en_2016.pdf.

กองยุทธศาสตร์และแผนงานกระทรวงสาธารณสุข. แนวทางมาตรฐานการให้รหัสโรคฉบับ 2017. นนทบุรี: สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข; 2560.

ชูจิตร นาชีวะ. การพัฒนาคุณภาพข้อมูลสาเหตุการตายโดยแพทย์ในสถานพยาบาล จังหวัด นครราชสีมา. วารสารสำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 7 2556; 11: 6-13.

เพ็ญพร คูณขาว,ปานทิพย์ สวัสดิ์มงคล,วันดี วันศรีสุธน,ปัทมา สันติวงศ์เดชา, วราภรณ์ ปานเงิน.ปัจจัยที่มีผลต่อการให้รหัสโรคที่เป็นสาเหตุการตายของผู้ป่วยในที่โรงพยาบาลศิริราช. เวชบันทึก ศิริราช 2553; 3: 79-85.

บุณฑริกา ทองสุข. คุณภาพของระบบรายงานสาเหตุการตายของโรงพยาบาลสมเด็จพระปิ่นเกล้า ปี พ.ศ. 2550 [วิทยานิพนธ์ปริญญาวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต]. กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย; 2550.

สิรินทรา ฟูตระกูล. ความครบถ้วนและความสอดคล้องตรงกันของใบสรุปการจำหน่ายผู้ป่วยและ การลงสาเหตุการตาย ในหนังสือรับรองการตายของผู้ที่เข้าพักรักษาในโรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ ปี 2546 [วิทยานิพนธ์ปริญญาวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต]. กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย; 2546.

จันทร์เพ็ญ ชูประภาวรรณ, เยาวรัตน์ ปรปักษ์ขาม, อรุณ จิรวัฒน์กุล, วรรษา เปาอินทร์. รายงานผลการศึกษาสาเหตุการตายในประเทศไทยระยะที่ 1 จำนวน 5 จังหวัด ขอนแก่น นครศรีธรรมราช นครสวรรค์ น่าน และระนอง และกรุงเทพมหานคร 4 เขต บางเขน สายไหม ดอนเมือง และหลักสี่. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์องค์การสงเคราะห์ทหารผ่านศึก; 2543.

 
         
         
         
         
         
         
         
         
         
         
         
         
         
         
         
         
         
         
         
         
         
         
     
     
     
     
     
     
     
  สำนักงานวารสารโรงพยาบาลเจริญกรุงประชารักษ์  
  ชั้น 3 (ภายในห้องสมุดทางการแพทย์) อาคารเวชศาสตร์ฟื้นฟู  
  เลขที่ 8โรงพยาบาลเจริญกรุงประชารักษ์ แขวงบางคอแหลม  
  เขตบางคอแหลม กทม. 10120  
  02-2892192 (วันและเวลาราชการ)  
 
 
  บรรณาธิการ  
     นพ.ทิวา เกียรติปานอภิกุล  
  ผู้ประสานงาน  
     นางสาวเพียงพิชญ์ ภู่พงศ์พันธุ์  
     pppp.rmckp@gmail.com  
     นายธาวิต บวรกุล  
     Nothing2fear@outlook.com